ประวัติคนหางาน
ตำแหน่งงานที่ต้องการ :
ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ  
ประเภทของงาน :
งานประจำ  
เงินเดือนที่ต้องการ :
38,000  
สถานที่ต้องการทำงาน
ภาค :
xxxx  
จังหวัด :
xxxx  
เขต/อำเภอ :
xxxx  
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ :
xxxx 
นามสกุล :
xxxx 
เพศ :
ชาย  
วัน/เดือน/ปีเกิด :
02-ตุลาคม-2513  
อายุ :
53  
สัญชาติ :
xxxx 
เชื้อชาติ :
xxxx 
ศาสนา :
xxxx  
ส่วนสูง :
xxxx 
น้ำหนัก :
xxxx 
ตำหนิ :
xxxx 
กรุ๊ปเลือด :
xxxx 
สถานที่เกิด :
xxxx 
โรคประจำตัว :
xxxx  
สถานะความเป็นอยู่ :
xxxx 
สถานะครอบครัว :
xxxx 
สถานะทางทหาร :
xxxx 
ที่อยู่ปัจจุบันที่ติดต่อได้สะดวก
ที่อยู่ :
xxxx  
แขวง/ตำบล :
xxxx  
เขต/อำเภอ :
xxxx  
จังหวัด :
xxxx  
รหัสไปรษณีย์ :
xxxx 
เบอร์โทรศัพท์บ้าน :
xxxx  
เบอร์มือถือ :
xxxx  
E-mail :
xxxx
ประวัติการศึกษา
ระดับการศึกษาสูงสุด :
ปริญญาโท  
ชื่อสถาบันสูงสุด :
xxxx 
สาขา :
ครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ 
วิชาเอก :
การบริหารการศึกษา 
เกรดเฉลี่ย :
3.8 
ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
มี  
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
มี  
ระดับ ชื่อสถาบัน จังหวัด ประเทศ ปีการศึกษา วุฒิที่ได้รับ
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
xxx  xxx  xxx  xxx  xxx  xxx 
ความสามารถทางด้านภาษา
ภาษา
พูด
เข้าใจ
อ่าน
เขียน
ไทย
ดีมาก 
ดีมาก 
ดีมาก 
ดีมาก  
อังกฤษ
พอใช้  
พอใช้  
พอใช้  
พอใช้  
ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT )
โปรแกรม
ความสามารถ ( ใช้งานได้ )
1. โปรแกรมสำนักงาน
(Word , Excel , Powerpoint , Access)
ดีมาก  
2. โปรแกรม Multimedia
(Cai , Flash , Autoware , etc. )
ดี  
3. โปรแกรมตัดต่อ VDO , sound , Effect
( Premier , Ulead , Sound Forge , etc. )
ดีมาก  
4. โปรแกรมสร้างกราฟิก ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
( photoshop , Illustrator , etc. )
ดี  
5. โปรแกรมสร้างเว็บไซต์
( Dreamweawer , Wordpress , CMS ต่างๆ หรืออื่นๆ )
ดี  
6. การพัฒนาซอฟต์แวร์
6.1 Window based Application
ดี  
6.2 Web based Application
ดี  
6.3 Mobile Application
 
7. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชำนาญ
็HTML  
8. Database ที่ชำนาญ
 
9. ระบบเครือข่าย ( ติดตั้ง-ซ่อมบำรุง )
9.1 Window
ดีมาก  
9.2 Linux / Unix
ดี  
10. การซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์
(เครื่องคอมพิวเตอร์ , ปรินท์เตอร์ , อื่นๆ )
ดี  
ความสามารถทางด้านดนตรี
เครื่องดนตรี
ความสามารถ ( ใช้งานได้ )
1. เครื่องดนตรีไทย
(ระนาด , ขลุ่ย , ซอ , พิณ ฯลฯ )
ไม่ได้เลย  
2. เครื่องดนตรีสากล
( เปียโน , คีย์บอร์ด , กีตาร์ ฯลฯ )
พอใช้  
ความสามารถทางด้านอื่นๆ
ความสามารถ :
มีความสามารถในด้านการบริหารการศึกษา ผ่านงานบริหารการศึกษา เคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ฝ่ายกิจการพิเศษ ฝ่ายกิจการนักเรียนนักศึกษา และรักษาการฝ่ายวิชาการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัย  
เกียรติประวัติ - รางวัลต่างๆ
รางวัล
จากสถาบัน
ปี พ.ศ.ที่ได้รับ
ครูดีเด่น  
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1  
2555  
ครูแกนนำดีเด่น  
สช  
2557  
ครูดีเด่น  
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1  
2556  
ผู้บริหารดีเด่น แห่งชาติ  
สำนักงานการอาชีวศึกษา  
2565  
ประวัติการทำงาน
ประสบการณ์การทำงาน :
xxxx ปี 
1 )
ชื่อสถานประกอบการ 1 :
xxxx  
ระยะเวลาเริ่มทำวันแรก :
18-สิงหาคม-2538  
-จนถึงวันสุดท้าย :
18-สิงหาคม-2557  
ตำแหน่ง 1 :
รองผู้อำนวยการ  
เงินเดือนสุดท้าย 1 :
30000  
สาเหตุที่ลาออก 1 :
ต้องการหาประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ทำงาน และงานใหม่มีความท้าทายความสามารถของผมมากกว่า และมีแรงจูงใจที่ดีในด้านผลตอบแทนทีดีเหมาะสมกับความเหนื่อยและทุ่มเทการทำงาน  
 
2 )
ชื่อสถานประกอบการ 2 :
xxxx  
ระยะเวลาเริ่มทำวันแรก :
11-ตุลาคม-2566  
-จนถึงวันสุดท้าย :
-  
ตำแหน่ง 2 :
 
เงินเดือนสุดท้าย 2 :
N/A  
สาเหตุที่ลาออก 2 :
 
 
การฝึกอบรม
หัวข้อ
สถาบัน
ระยะเวลา
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
xxxx 
บุคคลผู้รับรอง ( อ้างอิงได้ )
ลำดับ
ชื่อ
นามสกุล
ความสัมพันธ์
สถานที่ติดต่อ
เบอร์โทรศัพท์
1
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
2
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
3
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
xxxx  
แสดงความรู้ ความเข้าใจ และทัศนะของท่าน
1)ทัศนคติต่อการศึกษาไทย :
การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน เป็นการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาช่วยพัฒนาศักยภาพหรือเสริมสร้างพลังที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่จุดแรกเริ่มและตลอดชั่ววัยของชีวิต ซึ่งเป็นการอบรมบ่มนิสัยในมนุษย์สามารถประพฤติตน เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม ดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถร่วมสร้างประโยชน์ให้กับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ จึงถือได้ว่า การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา คุณธรรม ค่านิยม ความคิด ครูก็เป็นคนสำคัญในการสร้างเยาวชนที่ดี และสร้างอนาคตของชาติด้วย ดังนั้นจึงมีการจัดการบริหารการศึกษา ที่มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อให้ระบบการศึกษาของไทยมีมาตรฐาน มีทิศทางในทางที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมต่างๆ รัฐบาลจึงต้องมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการศึกษาออกมาอย่างชัดเจน เพื่อที่ผู้ปกครองจะต้องนำบุตรหลานของท่านไปเข้าเรียน คือการกำหนดภาคบังคับที่ประเทศไทยกำหนด ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหกจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม เป็นการศึกษาภาคบังคับ แต่ถ้าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะเป็นระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหก จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหก การศึกษาขั้นพื้นฐานมักใช้เวลาประมาณ 12 ปี เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนที่มุ่งศึกษาต่อก็อาจเข้าศึกษาในสถาบันศึกษา อาจจะเป็นการศึกษาปริญญาตรีต่อเนื่อง หรือ การศึกษาในมหาวิทยาลัย อนาคตภาพของสังคมโลกและสังคมไทย 1.สังคมโลกในอนาคต จะมีระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และการค้าแบบไร้พรมแดน มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เป็นอย่างมาก สังคมโลกจะแคบลงมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น และการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย จะได้รับการนิยมและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก 2.สังคมไทยยุคใหม่ จะเป็นสังคมเข้มแข็งและมีคุณภาพ, สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร, สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, และไทยจะมีบทบาทสูงในประชาคมโลก 2.1 สังคมไทยจะเป็นสังคมเข้มแข็ง และมีคุณภาพ กล่าวคือเป็นสังคมที่ยึดหลักความสมดุล และพึ่งตนเองได้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างการบริหาร การเมืองการปกครอง การจัดการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น, โดยการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของสังคม มีส่วนร่วมอันจะเป็นระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน, มีการผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาไทยอย่างสมบูรณ์ 2.2 สังคมไทยจะเป็นสังคมสมานฉันท์ และเอื้ออาทร กล่าวคือเป็นสังคมที่รักใคร่ สามัคคี มีความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2.3 สังคมไทย จะมีระบบเศรษฐกิจ ฐานความรู้ตามหลักปรัชญาพอเพียง กล่าวคือเป็นสังคมที่สร้างสรรค์ความรู้และใช้ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา, มีการบริหารองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และดำเนินการในลักษณะเครือข่าย, ประชากรจะมีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นผู้รักการอ่าน มีความรู้กว้างขวาง และมีฉันทะใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต 2.4 ประเทศไทย จะมีบทบาทสูงขึ้นในประชาคมโลก, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสังคมโลกอยู่บนพื้นฐานมีศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกัน ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันและร่วมมือกับประคมโลกอย่างไรก็ดีถ้าประเทศไทยยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิด ไม่มีการปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารการเมือง การปกครอง และระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้ยั่งยืนแล้ว อนาคตภายในทางลบของสังคมไทยจะเป็นสังคมที่อ่อนแอแข่งขันไม่ได้ คนไทยมีคุณภาพต่ำ มีความไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้คนไทยขาดความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ไม่ทันเหตุการณ์ คนไทยยุคใหม่ คนไทยยุคปฏิรูปการศึกษา จะเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม และมีความสุข เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต, สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เป็นคนไทยที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน และชาญชีวิต, เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น คิดสร้างสรรค์และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต, เป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รักการทำงาน และมีพลวัตในตนเองสูง, และเป็นคนไทยที่มาตรฐานสากล คือ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาสากล เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์, มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ, มีค่านิยมสากล และสามารถบูรณาการวิถีชีวิตไทยกับสังคมสากลได้อย่างมีความสุข การศึกษาไทยยุคใหม่ เพื่อให้มีการพัฒนาคนไทยยุคใหม่ เพื่อมีชีวิตที่มีคุณภาพในสังคมไทยยุคใหม่ ภายใต้บริบสังคมโลกใหม่, การศึกษาไทยยุคใหม่มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. การศึกษาไทยยุคใหม่ เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ, เป็นการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณาการ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง เพื่อพัฒนาประเทศยั่งยืน 2. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งสั่งสมทุนปัญญาไทยและทุนปัญญาโลก 3. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องเน้นผลต่อผู้เรียน ทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ, เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวิถีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ และมีความสุขกับการเรียน, ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการทำงาน 4. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งยกระดับงาน ให้เป็นแรงงานคุณภาพ (Knowledge workers) ที่เข้มแข็ง และแข่งขัน ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ยึดหลักสามประการในการจัดการศึกษา คือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, อีกทั้งมาตรา ๙ ได้กำหนดหลักการสำคัญในการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาไว้ ๖ ประการ คือ (ก) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (ข) มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นการศึกษา สถานศึกษา และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (ค) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา (ง) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง (จ) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (ฉ) การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น.จะเห็นได้ว่า หลักการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๒ สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษายุคใหม่ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนไทยยุคใหม่ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และคุณค่าแก่สังคมไทย และสังคมโลก มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ระบบการจัดการศึกษาไทยยุคใหม่ การศึกษาปฐมวัยในอนาคต ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับเงินและมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าศักยภาพของมนุษย์ในสังคมนั้นจะบอกถึงสถานภาพความมั่นคงของสังคมนั้น ศักยภาพของมนุษย์อยู่ที่การทำงานของสมองประเทศใดให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของคนหรือการคิดของคนในประเทศนั้นจะได้รับการพัฒนา ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากส่งเสริมภายหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้สามารถพัฒนาไปถึง 70 % ควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การศึกษาปฐมวัยมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาจากทฤษฎีและแนวคิดของนักทฤษฎีผู้ที่ศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กวัยแรกเกิดถึง 8 ปี มานานนับศตวรรษ ต่อมาได้มีความคิดใหม่เกิดขึ้น และมีหลายแนวคิดที่สอดคล้องและมีความเห็นในหลักการพัฒนาเด็กตามที่เคยเชื่อถือและเคยปฏิบัติมาแต่เดิม จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังต่างๆ ที่ทำให้นักการศึกษาหลายกลุ่มได้พยายามแสวงหาแนวคิดและสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยหลักความเชื่อ หลักทฤษฎีที่ว่าด้วยพัฒนาการเด็กและการเรียนรู้เป็นฐาน นักการศึกษาหลายกลุ่มได้นำรูปแบบการสอนตามความเชื่อและเหตุผลเชิงทฤษฎีไปปฏิบัติติดตามผล มีรายงานการวิจัยเผยแพร่ในวงการศึกษาปฐมวัยซึ่งกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัวในการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านต่างๆมากขึ้น การจัดการศึกษาปฐมวัยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ครูปฐมวัย การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการ การศึกษาปฐมวัยในอนาคตเกี่ยวข้องกับศึกษาอดีต ปัจจุบันและมองภาพข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไรที่จะทำให้การจัดการศึกษาปฐมวัยมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในทุกด้าน ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในแต่ละด้านดังนี้ เด็กปฐมวัย เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ใน ครรภ์มารดา จนถึงอายุ 6 ปี เด็กได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านคือ พัฒนาการทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็กจะต้องมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ส่วนเด็กอายุ 3 5 ปีที่ได้รับการพัฒนาจากสถานศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กต้องมี ความเป็นมืออาชีพและมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย เด็กดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ ได้รับบริการที่มีคุณภาพด้านสุขภาพทางกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการแก้ปัญหาข้อบกพร่องอย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการอบรมดูแล จัดประสบการณ์และจัดสภาพแวดล้อมในเด็กอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ โดยสามารถเข้าถึงความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ รายการวิทยุโทรทัศน์ Website โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการให้การศึกษาแก่พ่อ แม่และผู้ปกครองในรูปแบบ การประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก กิจกรรมสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน แผ่นพับและจัดกิจกรรมแนะแนวความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ส่งเสริมให้ผู้ปกครองร่วมประเมินผลพัฒนาการเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็กและโรงเรียนระดับปฐมวัยมีชมรมหรือสมาคมผู้ปกครองร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก นอกจากนี้สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ เฝ้าระวังและร่วมพัฒนาเด็กโดยวิธีเผยแพร่ความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก กระตุ้นในสังคมเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กทำให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด มีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กโดยการให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่ พัฒนา ต้องฝึกให้เด็กใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเด็ก ครูปฐมวัยจำนวนร้อยละ 100 มีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยหรือสำเร็จการศึกษาทางการศึกษาปฐมวัย และได้รับการอบรม/สัมมนาปีละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ผู้ทำงานในสถานศึกษาต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีคุณสมบัติความเป็นนักวิจัย/ครูนักวิจัย มีชมรม/สมาคมสำหรับครูปฐมวัย มีศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยให้บริการวิชาการได้ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนได้ทันทีโดยรวดเร็วจากครูแบบเดิมกับแนวทางใหม่ผู้สอนต้องเข้าใจว่าแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยเกิดจากการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้า ด้วยกัน ครูมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สามารถสร้างพลังการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน กลุ่มแนวคิดที่นำเสนอในที่นี้มีความเห็นที่ชัดเจนและชี้ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4 ประการคือ หลักการเรียนรู้ บทบาทของครู บทบาทเด็กและการจัดสภาพการเรียนรู้ การเรียนรู้ในแนวใหม่ต่างจากการสอนแบบเดิมที่เน้นการเรียนเนื้อหาวิชาที่ครูสอนหรือถ่ายทอดให้ เด็กปฐมวัยโดยตรง แนวทางใหม่เน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคมและเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ แนวคิดใหม่ปรับเปลี่ยนมโนคติ ทัศนคติและแนวปฏิบัติในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนการสอน ได้นำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆมาสนับสนุนและชี้นำแนวการสอนที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเด็กตามที่เราต้องการ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย การส่งเสริมศักยภาพของเด็กโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ และการรับความรู้ให้ผลต่างกัน ผลจากการให้เด็กเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้เป็นการสร้างพลังการเรียนรู้ที่แท้จริงอันจะนำไปสู่การศึกษาที่ช่วยให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข พัฒนาการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานการวิจัย จัดการศึกษาให้เด็กได้รับการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุล เต็มตามศักยภาพสนับสนุนการบูรณาการทฤษฎีต่างๆตลอดจนการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องไปใช้จริงการที่เราพูดกันเสมอมาว่า ครูควรใช้แนวคิดในการจัดการ เรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง จัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เช่น ทฤษฎีการพัฒนาทางจิตและสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Cognitive Theory) ของ Piaget ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคม (Social Cognitive Theory) ของ Bandura ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theories) ที่ว่าด้วยความต้องการจำเป็นของมนุษย์(Theory of Human Motivation) ของ Maslow และการพัฒนาเหตุผลเชิงคุณธรรม (Stages of Moral Reasoning) ของ Kohlberg เป็นต้น กำหนดกรอบของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คำนึงถึงความสนใจของเด็กและตอบสนองความต้องการของเด็ก ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล และรายกลุ่ม (Developmentally Appropriate Curriculum) ใช้วิธีประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic assessment) และใช้ระบบสะท้อนข้อมูลการสอนจากการสังเกตบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กเพื่อการวางแผนการสอนในครั้ง นำนวัตกรรมใหม่ๆหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาเด็กอย่างเหมาะสม จัดการเรียนรู้หรือจัดสิ่งกระตุ้นให้มากพอที่สมองจะทำงานเป็นกระบวนการ กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองคือ กิจกรรมที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการให้เด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ หยิบ จับ สัมผัส ซึ่งปลายนิ้วมือจะรับรู้การสัมผัสส่งผลให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมอง เด็กคนใดมีทักษะในการใช้สายตาประสานกับการทำงานของมือให้เกิดความคล่องแคล่ว แสดงว่าเซลล์สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก สมองของเด็กจึงจะพัฒนา จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมศิลปะ ประกอบด้วย การปั้นดินน้ำมัน/ดินเหนียว/แป้งโดว์ การวาดภาพระบายสี อาจเป็นสีน้ำหรือสีเทียนสลับกับไป การตัด ฉีก ปะ งานประดิษฐ์ต่างๆ เป็นต้น การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสต่างๆ ประกอบด้วย พลาสติกต่อลักษณะต่างๆ การร้อยลูกปัด การร้อยดอกไม้ การผูกเชือก การติกกระดุม การแป้นหมุด การต่อภาพ เป็นต้น กิจกรรมการทดลอง ประกอบด้วย การทดลองการจมการลอย การเล่นน้ำ การเล่นทราย การปรุงอาหารง่ายๆ การต่อสร้างด้วยบล็อกขนาดต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมการไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู่ในชุมชน จัดหาและดัดแปลงสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเด็กแต่ละคนมีฐานการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีความสามารถในทางสมองแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็สามารถพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนได้ เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้ 1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ 2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น 3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข 4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่งและการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี 6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา 7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาตินอกจากกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองโดยพยายามให้เด็กนำความรู้เดิมไปผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ ให้เด็กได้ใช้สมองผสมผสานกันทั้งซีกซ้ายและซีกขวาโดยการปฏิบัติผ่านการเล่น ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข การบริหารจัดการทางการศึกษาปฐมวัย โรงเรียน/ศูนย์จะต้องพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ วิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะเป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยอื่นๆภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า โรงเรียนนั้นไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยเก่งมากกว่าโรงเรียนของเราในบางเรื่องการศึกษาจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนอื่นๆแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก การเรียนรู้จากแชมป์จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด การศึกษาปฐมวัยในอนาคตให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองเพราะวัยนี้สมองมนุษย์จะพัฒนาไปถึง 70 % ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กโดยจัดกิจกรรมการเรียนจากประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัยแสดงประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในด้าน การพัฒนาเด็ก การมีส่วนร่วมและการสร้างความรู้เข้าใจทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม การปรับเปลี่ยนบทบาทครูปฐมวัยและการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและมีคุณสมบัติความเป็นครูนักวิจัย การจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดการเรียนรู้แนวทางใหม่อยู่บนฐานแนวคิดและทฤษฎีเน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีพหุปัญญา พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้วยวิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะ เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต รวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ดังนี้ 1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน สามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย 2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลก 3. หลักแห่งความเสมอภาค คนไทยทั้งปวงต้องมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม 4. หลักการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ 5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน 1. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ 2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 3. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล 5. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 6. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา 7. ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 8. ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 9. คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 10. สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน 11. สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ 12. สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 13. สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 14. การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม 15. การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น  
2)ทัศนคติของท่านต่อสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน :
ร้อยกว่าปีก่อนในฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน ล้วนแตกต่างจากสังคมไทยในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง หากเราพิจารณาตามความเป็นจริง สังคมไทยในปัจจุบันนั้นมีความทันสมัย ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสะดวกสบายพอสมควร ที่สำคัญ เรามี "สิทธิและเสรีภาพ" มากมาย หากเทียบกับเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในสามประเทศข้างต้น สังคมไทยเป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันมาอย่างยาวนาน และที่สำคัญสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ เป็นสังคมผู้เยาว์เคารพต่อผู้อาวุโส ดังนั้นสังคมไทยแม้จะเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาในสังคมมากมาย แต่ในความลึกซึงแก่แท้ของคนไทย ยังเป็นสังคมแห่งความโอบอ้อมอารีย์เสมอ อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จของการพัฒนาในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมาครั้นถึงพ.ศ. ๒๕๔๐ สิ่งที่ควบคู่มา กับความสำเร็จกลับกลายเป็นปัญหาที่สะสมพอกพูนตามมาและ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะนี้กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ของสังคมไทยยุคโลกภิวัตน์ ปัญหาอันยิ่งใหญ่ตาม คือ ปัญหาด้านสังคม จนอาจสรุปเป็นข้อความสั้น ๆ แต่น่าคิดอย่างยิ่งว่า "เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" ยิ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ามากเท่าใด และความเจริญด้านวัตถุมีมากเท่าใดสภาพด้านจิตใจกลับเสื่อมลง จิตใจคนสับสน ว้าเหว่ คนขาดที่พึ่งทางใจครอบครัวที่เคยเข้มแข็งกลับอ่อนแอ แตกแยก ชุมชน หมู่บ้าน ที่เคยเข้มแข็งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ประเด็นปัญหาสังคมที่สำคัญสรุปสั้น ๆ ดังนี้ ๑. ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวัตถุ แต่เกิดความเสื่อมทางด้านจิตใจ ค่านิยมและสังคมคนไทยประพฤติปฏิบัติที่แสดงถึงความเสื่อมทางจิตใจอย่างเห็นได้ชัดเจนหลายประการ เช่น นิยมวัตถุ นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย ยกย่องคนรวย โดยไม่คำนึงถึงว่าจะร่ำรวยมาได้โดยวิธีใด เกิดการแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม การเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบนี้นอกจากจะเบียดเบียนกันเองแล้ว ยังเบียดเบียนรุกรานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ที่ดิน ป่าไม้ แม่น้ำ สภาพธรรมชาติ ถูกรุกราน ยึดครอง ถูกทำลาย สภาพน้ำเน่าเสีย สภาพคนจนอยู่ใน สลัมท่ามกลางตึกสูงอันหรูหราใหญ่โต สภาพความยากจนแร้นแค้นของคนในชนบท และสภาพเสื่อมโทรมทางสังคม อันเกิดจากความเสื่อมทางจิตใจมีมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากปัญหายาเสพติด โสเภณี โรคเอดส์และปัญหาอื่น ๆรวมถึงการละเลยด้านศาสนา และประเพณีเป็นต้น ๒. ปัญหาอื่น ๆ ที่สืบเนื่องจากความเสื่อมทางด้านจิตใจและค่านิยม คือ ๒.๑ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างมากและอย่างรวดเร็ว ๒.๒ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนมีมากยิ่งขึ้น คนรวยมีเพียงจำนวนเล็กน้อย แต่เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติมากมาย ทำให้คนจนส่วนใหญ่ที่จนอยู่แล้วกลับยิ่งยากจนลงไปกว่าเดิมอีก ๒.๓ ความเจริญกระจุกอยู่แต่ในเมืองไม่ได้กระจายออกไป ทำให้คนชนบทอพยพเข้าสู่เมืองเกิดปัญหาตามมาทั้งในชนบทและในเมือง ๒.๔ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ เพราะปรับสภาพไม่ทันกับปัญหาสังคมที่ซับซ้อนในเมืองหลวงและในชนบท ๒.๕คนไทยส่วนใหญ่พื้นฐานการศึกษายังน้อย ปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นต้น๓.วิกฤตการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบการเมืองของ ไทยอันเป็นแบบแผน ของสังคมในการปกครองประเทศ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ขณะนี้การเมืองไทยมีปัญหาถึง ๘ ประการ คือ ๓.๑ ใช้เงินเป็นใหญ่ ๓.๒มีการผูกขาดการเมืองโดยคนจำนวนน้อย ๓.๓ คนดีมีความสามารถเข้าไปสู่การเมืองได้ยาก ๓.๔ การทุจริตประพฤติมิชอบมีอยู่ในทุกระดับ ๓.๕ การเผด็จการโดยระบอบรัฐสภา ๓.๖ การต่อสู้ขัดแย้งเรื้อรังและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ๓.๗ การขาดประสิทธิภาพทางการบริหารและนิติบัญญัติ ๓.๘ การขาดสภาวะผู้นำทางการเมือง ๔. วิกฤตการณ์ในระบบราชการ หมายถึง ระบบราชการอันเป็นเครื่องมือปัญหาสังคมไทยกลับกลายเป็นปัญหาเสียเอง เช่น ปัญหาความเสื่อมศักดิ์ศรีของระบบราชการ ทำให้คนดีคนเก่งหนีระบบราชการ ปัญหาคอรัปชั่นในวงราชการปัญหาคุณธรรม เป็นต้น ๕.วิกฤตการณ์ของการศึกษา หมายถึง การศึกษาของไทยอัน เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของสังคมไทยกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง เช่นการเรียนแบบท่องจำเนื้อหาไม่ทันต่อความรู้ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ปัญหาการแก่งแย่งแข่งขัน ปัญหาระบบการศึกษา การบริหาร การกระจายโอกาสการศึกษา รวมถึงการศึกษาของสงฆ์ก็มีปัญหาด้วยประมวลสรุป สภาพปัญหาของเยาวชนไทยถ้ามองถึงปัญหาของเยาวชนไทยจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติ แต่ผู้ใหญ่คาดหวังจะให้เขาเป็นคนดียิ่งขึ้นไปอีกและมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งมีปัญหา ซึ่งคำว่าจำนวนหนึ่งนี้เมื่อเทียบกับเยาวชนทั้งประเทศ เยาวชนที่มีปัญหาก็นับจำนวนเป็นล้านทีเดียว จากลักษณะของเยาวชนไทยที่มีจำนวนมากเช่นนี้ หากจะทำความเข้าใจและให้ความสนใจเยาวชน ก็ควรเข้าใจว่าเยาวชนแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะสังคมอยู่แล้ว คือ ๑. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา โรงเรียนเริ่มตั้งแ ต่นักเรียนชั้นมัธยมเรื่อยไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวและสนใจเรื่องราวทั้งที่อยู่ใกล้ตัว ไกลตัว รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรรมและความสนใจหลากหลาย ๒. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชน ในหมู่บ้านหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง จะมีเยาวชนอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว เยาวชนเหล่านี้จะมีลักษณะที่หลากหลายปะปนกัน เยาวชนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานนอกบ้านแล้วกลับมาตอนเย็น บางกลุ่มทำงานช่วยพ่อแม่อยู่บ้าน บางกลุ่มอยู่บ้านเฉย ๆ บางกลุ่มก็เข้ามาอยู่ในชุมชนอย่างแอบแฝง ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะหลากหลาย มีตั้งแต่เยาวชนผู้นำรวมกลุ่มทำกิจกรรมให้แก่สังคมอย่างเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญของหมู่บ้านรองจากผู้ใหญ่รวมไปถึง พวกอยู่เฉย ๆ กินเหล้าเมายา ลักเล็กขโมยน้อย รวมไปถึงติดยาเสพติด และเรื่องอื่น ๆ ด้วย ๓. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานประกอบการ เยาวชนกลุ่มนี้มีตั้งแต่เด็กที่เพิ่งจบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วก็ เข้าไปรับจ้างขายแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนวัยกำลังหนุ่มสาว อายุระหว่าง ๑๘ ปี ไปจนถึง ๒๕ ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนเต็มตัว คนวัยหนุ่มสาวนี้จะไปทำงานรวมตัวกันอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ หรือเมืองอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพ ฯ ระยอง อยุธยา นครราชสีมา เป็นต้น เยาวชนดังกล่าวพื้นฐานความรู้ส่วนใหญ่จบแค่ ป. ๖ ต้องจากบ้านที่คุ้นเคยกับชีวิตชนบท แบบชาวไร่ชาวนามาใช้ชีวิตแบบอุตสาหกรรม ต้องทำงานตรงตามเวลาเข้าทำงาน เวลาเลิกงาน ได้ค่าจ้างที่ไม่มากทำงานหนัก ต้องทำงานนอกเวลาเพิ่มเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น อาหารการกินจำกัด ที่อยู่คับแคบ เวลาพักผ่อนน้อย ว่างเพียงวันอาทิตย์วันเดียว จะรีบออกไปเที่ยวพักผ่อนตามศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ มีปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางเพศ จับคู่อยู่กันแบบผัวเมียเร็ว มีลูก เกิดปัญหา เกิดการแตกแยก รวมถึงเรื่องปัญหายาเสพติด เป็นต้น ๔. เยาวชนในวัด กลุ่มนี้มีทั้งสามเณร รวมไปถึงเด็กวัดและคนอาศัยวัดอยู่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน บวชเณรเพื่อหนีความยากจนและเบื่อเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนผู้ใฝ่ดี แต่ขาดแคลนทุกอย่าง มีความเหงาว้าเหว่ทางใจ โดยเฉพาะเด็กวัด การขาดหรือความไม่เท่าเทียมคนอื่นทำให้ขาด ความมั่นใจ หรือมิฉะนั้นก็จะหันไปในทางที่ผิด ปัญหาเยาวชนแยกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑. ปัญหาร่วม หมายถึง ปัญหาที่มีอยู่แล้ว สังคมสร้างปัญหา ผู้ใหญ่สร้างปัญหาเยาวชนอยู่ในสังคมก็ได้รับปัญหานั้น ซึ่งจะโทษเยาวชนคงไม่ได้ ปัญหาร่วมที่สำคัญจะยกตัวอย่างให้เห็น ดังนี้ ๑.๑ ปัญหาเรื่องบุหรี่ เหล้า การพนัน การกินเหล้า สูบบุหรี่ เล่นการพนัน เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาทำขึ้นมา และผู้ใหญ่ก็ปฏิบัติกันอยู่แล้ว เยาวชนเห็นตัวอย่างก็กิน สูบและเสพเหมือนผู้ใหญ่ ๑.๒ ปัญหาแหล่งบันเทิง ผับ บาร์ ดิสโก้เธค สถานอาบ อบ นวด ซ่อง สิ่งเหล่านี้มีทั่วไปในสังคมไทย แม้บางอย่างกฎหมายกำหนดไว้ในทางปฏิบัติก็มีการปล่อยให้เยาวชนเข้าเสพได้อย่างเสรี ๑.๓ ปัญหาเรื่องภาพยนต์โป๊ หนังสือโป๊ หรือเรื่องโป๊เปลือยร่างกาย เรื่องทางเพศดังกล่าว เยาวชนเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ๑.๔ ปัญหายาเสพติด ยาบ้า ยาอี เฮโรอีน และอื่น ๆ สิ่งเสพติดดังกล่าวมีอยู่แล้วในสังคมและผู้ใหญ่ก็เสพอยู่แล้ว เยาวชนก็ทำได้เช่นกัน ๑.๕ ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ การโกงกิน คอรัปชั่นของนักการเมือง พ่อค้า ข้าราชการ รวมไปถึงเรื่องการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบสังคม สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั่วไป เยาวชนย่อมทำตามและสร้างปัญหาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ๒. ปัญหาเฉพาะของเยาวชน ปัญหาเฉพาะดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ แก่เยาวชนอีกมาก ลักษณะของปัญหาเกิดจากลักษณะเฉพาะของความเป็นเยาวชนนั่นเอง ซึ่งกล่าวแต่เพียงประเด็นสำคัญพอเป็น แนวพิจารณา ดังนี้ ๒.๑ ปัญหาเฉพาะของเยาวชนอันเกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง ปัญหาอยากต่าง ๆ ที่กล่าวนี้เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ เช่น อยากทดลองเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ทดลองเป็นคู่นอนกัน ทดลองขับรถแข่งกัน ยังมีการอยากทดลองขับแข่งรถ ยังมีการอยากการทดลองอย่างอื่นอีกมาก ล้วนให้เกิดปัญหาตามมาทั้งสิ้น ๒.๒ ปัญหาตามเพื่อนหรือปัญหาติดกลุ่ม ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ทำตามเพื่อนเป็นใหญ่จึงเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น เพื่อนเข้าบาร์ก็เข้าด้วย เพื่อนใส่กระโปรงสั้นก็ใส่ด้วย เพื่อนร้องเพลงฝรั่งก็ร้องด้วยเพื่อนกินไก่เค้นตักกี้ กินพิซ่า ก็ทำตามด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อน ๆ ไม่เข้าวัดก็ไม่เข้าด้วย ๒.๓ ปัญหาความว้าเหว่ ความเหงา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัยรุ่น เหงาเพราะขาดเพื่อนไม่ได้ มีอะไรไม่เท่าเพื่อน ทำให้ไม่พอใจในฐานะตัวเอง เกลียดพ่อแม่พาลหนีออกจากบ้านไปเข้ากลุ่มเพื่อน เหงาหรือว้าเหว่เพราะไม่มั่นใจในตัวเองก็ออกแสวงหาความมั่นใจทั้งในทางที่ถูกและทางที่ผิด ใครห้ามก็ไม่ฟังทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกมากมาย ๒.๔ ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลาขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวทั้งจากสังคมแวดล้อม จากสังคม เช่น สนามกีฬาที่ออกกำลังกายไม่มี ที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มี ที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจไม่มี โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้ ด้านครอบครัวเช่น พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ไม่เคยใกล้ชิดลูก ไม่เคยแนะนำกล่อมเกลาหรือเป็นตัวอย่างที่ดี เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการขาดความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ ประเพณี แนวปฏิบัติต่อตนเองและสังคม การขาดทั้งสองเรื่องดังกล่าวทำให้เยาวชนสร้างปัญหาให้ตัวเองและสังคม เพราะเยาวชนเป็นวัยที่กำลังใฝ่หาแบบอย่างจากผู้ใหญ่และจากสังคม จุดอ่อน จุดแข็ง ของเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ๑. จุดแข็งของเยาวชนไทย ๑.๑ เป็นคนมีเหตุผล ความมีเหตุผลนี้จะทำให้พฤติกรรมกล้าถาม กล้าตอบ กล้าโต้เถียง ซึ่งผู้ใหญ่จะมองว่าหัวแข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ แต่ ลักษณะมีเหตุมีผลนี้เป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับโลก ปัจจุบัน อันเป็นยุคโฆษณา ๑.๒ เป็นตัวของตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองคืออยากทำอะไรก็ทำที่ตัวเองเห็นว่าดีถูกต้อง เช่น การยืน การพูด ถกเถียง การแต่งตัว แม้แต่การเข้าไปในวัด คุยกับพระ หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจความเป็นตัวของวัยรุ่นก็จะตำหนิหรือหาว่าไม่มีมารยาท ไม่มีสัมมาคารวะ ๑.๓ ความกล้า ความสนใจกว้างกว่า การก้าวทันวิทยาการใหม่ ๆ วัยรุ่นเป็นคนรุ่นใหม่จะกล้ามากกว่าเดิม กล้าเรียน กล้าทำงาน กล้าเป็นนักร้อง กล้าเป็นนางแบบ รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนท รู้ความเคลื่อนไหว ความเป็นไปต่าง ๆ ของสังคม และโลก ทั้งที่ใกล้และไกลตัว ๒. จุดอ่อนของเยาวชนไทย ๒.๑ ความอ่อนแอในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยอันเนื่องมาจากชีวิตครอบครัว ลักษณะสังคมไทยเปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูกน้อยลง เยาวชนเข้าเรียนหนังสือในชีวิตอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่วัยเยาว์ โรงเรียนไม่สามารถอบรมกล่อมเกลาเยาวชนในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้เท่าเทียมกับพ่อแม่และชุมชน หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ วัด บ้าน โรงเรียน แยกส่วนกันไม่เป็นสังคมที่กลมกลืนกัน การหล่อหลอม อบรม สืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยก็อ่อนด้อยไป ยิ่งเยาวชนที่อยู่ในวัยทำงานต้องจากครอบครัวไปอยู่ต่างถิ่น อยู่ในสังคมโรงเรียน ยิ่งเกิดการแตกแยก ทั้งทางด้านจิตใจและการดำเนินชีวิต ความอ่อนแอในทางวัฒนธรรมทำให้ขาดจุดยืน ขาดความมั่นใจ ขาดการใคร่ครวญและรับหรือไม่รับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้ง่าย เกิดความสับสนในการดำเนินชีวิตแบบไทยที่เหมาะสมถึงสภาพปัจจุบัน เยาวชนจำนวนไม่น้อยเห่อเหิม ฟุ่มเฟือย หนักไม่เอาเบาไม่สู้ หลงวัตถุ หลงเงินตรา ก่อปัญหาให้ตัวเองและสังคม ๒.๒ ความว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว สับสนวุ่นวายทาง สภาพครอบครัว สภาพสังคมที่สับสน สภาพการแข่งขัน สภาพชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบ ทำให้จิตใจของเยาวชนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนวุ่นวาย ยิ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ติดเพื่อนพลอยทำให้ตัดสินใจอะไรพลาดพลั้งได้ง่าย ยิ่งประเภทพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกหรือครอบครัวมีปัญหา ครอบครัวแตกแยก หรือการออกไปทำงานต่างถิ่นยิ่งเสี่ยงต่อการตัดสินใจในทางที่ผิดก่อปัญหาต่อตัวเองและสังคม จุดอ่อนของเยาวชนทั้ง ๒ ข้อ เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาที่น่าสังเกต ก็คือ เป็นเรื่องของจิตใจอันเป็นผลให้คนดำเนินชีวิตไปทั้งในทางชั่วและทางดี เรื่องการนำและอบรมทางใจนี้ พระสงฆ์ย่อมมีบทบาทสูงสุดอย่างไม่ต้องสงสัย สิ่งที่เยาวชนสับสนและอยากได้คำตอบมากที่สุด ๑. ความจริงของชีวิต เกิดมาทำไม ความจริงของโลก จักรวาล คืออะไร ๒. อะไรคือความชั่ว อะไรคือความดี คนทำชั่วทำไมจึงได้ดี ทำไมจึงมีเกียรติ ทำไมจึงร่ำรวย คนทำดีทำไมจึงยากจน คนซื่อสัตย์สุจริตทำไมจึงถูกโกง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ๓. ค่านิยมที่ดีคืออะไร คนที่เรียบร้อย อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนทำไมเพื่อนจึงกล่าวหาว่าหัวอ่อน, คนที่เปลือยผ้าถ่ายรูป มีรายได้สูง มีคนนิยมชมชอบ เป็นค่านิยมที่ดีหรือไม่ , คนที่คดโกงมีความร่ำรวย มีอิทธิพล ได้เป็นรัฐมนตรีปกครองคน เป็นผู้นำประเทศ เป็นค่านิยมที่ดีหรือเลว เหล่านี้เป็นคำถามในใจเยาวชน ๔. วิกฤตการณ์ด้านจิตใจ อันหมายถึง ความสับสนยุ่งเหยิงทางใจที่เป็นข้อขัดแย้ง เป็นคำถามในใจของเยาวชนตลอดเวลา เช่น ทำไม ตุ๊ด ดี้ จึงดังในจอทีวี คนนิยมชมชอบ ทำไมตำราจ ทางหลวงจึงเก็บส่วยจากรถบรรทุก สร้างความร่ำรวยให้ตัวเองได้ ทำไมผู้ใหญ่รณรงค์ให้เยาวชนรักษาความสะอาด ฟุตบาทจึงเต็มไปด้วยแผงขายอาหาร ขายของสกปรกจนไม่มีที่เดิน ทำไมคนหนุ่มสาวผู้ใช้แรงงานจึงถูกเอาเปรียบค่าแรง แล้วทำไมจึงให้ต่างชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย มาขายแรงงานราคาถูกไม่ถูกจับ คำว่าทำไม ๆ ๆ ๆ เยาวชนนี้มีมากมาย เกิดวิกฤตทางจิตใจตลอดเวลา สาเหตุหลักของสภาพปัญหาสังคมไทย สภาพปัญหาเยาวชนไทยยุคโลกาภิวัตน์ทั้งหลายทั้งปวงมาจากความสับสนวุ่นวายทางจิตใจ จิตใจเยาวชน ไม่มั่นคง ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดมั่น องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง เช่นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในการแก้ปัญหาก็จริง แต่ขาดการปฏิบัติต่อเนื่อง และจริงจัง ดังนั้นองค์กรทางศาสนา หลักธรรมคำสอน และพระสงฆ์เท่านั้น จะเป็นผู้สร้าง ผู้ชี้ทางและเป็นผู้นำทางทางจิตใจของ เยาวชนไทย เป็นผู้อธิบายค่านิยมที่ถูกต้อง ผู้อธิบาย ความดี ความชั่ว ความจริงของโลกและความสุขอันแท้จริงของชีวิต เป็นผู้ชี้นำความสว่าง ความสงบ ทั้งแก่เยาวชน และแก่คนไทยทุกคนให้พบแต่ความสุขความเจริญ แต่นั่นก็หมายถึงว่า พระสงฆ์เองก็ต้องพัฒนาตนเอง ให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม แก้ปัญหาสังคม ไม่เป็นปัญหาสังคมเสียเอง  
3)กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการกับการศึกษา :
การศึกษาเป็นการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมองให้ได้รับข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมประสบการณ์ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา การศึกษาที่สมบูรณ์คือการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้คนได้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ปกติสุข อยู่ด้วยความอารีย์ต่อกัน มีกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน นั้นคือการศึกษาที่สมบูรณ์ ในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบรู้จักคิดวิเคราะห์ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้น ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญหาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ วิธีโยนิโสมนสิการพอประมวลเป็นแบบใหญ่ได้ 10 วิธีดังต่อไปนี้ 1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย 2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบหรือกระจายเนื้อหา 3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา 4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา 5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ 6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก 7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม 8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม 9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน 10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาทหรือคิดแบบแยกแยะประเด็น